การเตรียมตัวสู่การเป็นวิศวกรสารสนเทศและการสื่อสาร

ภาพรวมของสาระวิชาในแต่ล่ะชั้นปี

ย้อนกลับไปเมื่อเวลาที่ผ่านมาเกือบ 6 ปีที่ผ่านมาที่ผมเดินเข้าสู่สถานศีกษาทีชื่อมหาวิทยาลัยฯ หลายๆ คนคงจะงงๆ มึนๆ กับสภาพแวดล้อมและการปรับตัวในการเรียนในรั้วมหาวิทยาลัยพอสมควร เนื่องด้วยผมเป็นคนที่ไม่ได้เก่งหรือฉลาดอะไรมากมาย เพราะฉะนั้นผมต้องเตรียมตัวและทำให้ตัวเองพร้อมอยู่เสมอ โดยผมถือคติที่ว่า

เก่งไม่กลัว กลัวขยัน

ดังนั้นเราต้องมารู้จักสาขาวิชาวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารกันก่อน โดยเป็นสาขาวิชาฯ ที่ถือว่าเป็นการรวมสาระวิชาของ 3 สาขา อันประกอบด้วย วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมโทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ (มันมีอัตราส่วนอยู่ แต่ผมจำไม่ได้แล้ว) เราจะได้เจอกับวิชาเฉพาะทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ตั้งแต่ปี 1 เลย เพื่อให้มองได้เห็นภาพมากขึ้น ผมขอสรุปเนื้อหาสาระ และจุดมุ่งหมายที่เราจะได้จากการเรียนในแต่ล่ะชั้นปีดังนี้

  • ชั้นปีที่ 1 เป็นการเรียนเพื่อปรับพื้นฐาน ให้มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ (ฟิสิกส์, คณิตศาสตร์) พื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ พื้นฐานทางด้านการเขียนโปรแกรม การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า การออกแบบวงจรดิจิตอล เป็นต้น วิชาทั้งหลายเหล่านี้จะสร้างกระบวนการคิด และทักษะในด้านวิศวกรรม ที่เป็นระเบียบและระบบมากขึ้น เพื่อเตรียมตัวสู่สาระวิชาที่เป็นเนื้อแท้ และหนักขึ้นในชั้นปีต่อไป
  • ชั้นปีที่ 2 เป็นการเรียนที่เจาะลึกลงไปในศาสตร์ทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมโทรคมนาคม อย่างจริงจังแล้ว ผมคิดว่าเนื้อหาสาระในชั้นปีนี้สำคัญมากๆ เพราะนั้นคือพื้นฐานเลยครับ เช่น สนามแม่เหล็กไฟฟ้า หลักการสื่อสาร สัญญาณและระบบ ระบบและโครงข่ายโทรศัพท์ การออกแบบระบบที่ควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม การออกแบบระบบฐานข้อมูล เป็นต้น (ถ้าสังเกตดีๆ จะพบว่ามันต่อเนื่องและสอดคล้องกัน เห็นเหมือนผมไม)

พื้นฐานไม่ดีจะต่อเติมอะไรก็ลำบาก เหมือนสร้างบ้าน ถ้าฐานรากไม่แข็งแรง จะต่อเติม เสริมแต่งอะไรระวังจะล้มเอานะครับ

  • ชั้นปีที่ 3 เป็นการเรียนที่มีสาระวิชาที่ลึก และเป็นศาสตร์พื้นฐานทางวิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสารเลยครับ เป็นวิชาทางด้านระบบการสื่อสารด้านต่างๆ เช่น อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการสื่อสาร การสื่อสารเชิงแสง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เครือข่ายโทรคมนาคม ระบบสื่อสารแบบเคลื่อที สายอากาศ เป็นต้น วิชาทางด้านการควบคุมและจัดการระบบ เช่น ความมั่งคงปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และเครื่อข่าย ระบบสารสนเทศการจัดการ วิศวกรรมซอฟแวร์ เป็นต้น อีกทั้งยังมีวิชาระบบปฏิบัติการ และการเขียนโปรแกรมร่วมสมัยด้วย สำหรับผมแล้วช่วงเวลานี้แหละ เราต้องทำสิ่งที่เราชอบหรือสนใจให้คล่องแคล่ว ชำนาญ สร้างโจทย์ ทำโจทย์ แก้ปัญหา ออกแบบ ต่อยอด สร้างมันให้เป็นรูปร่าง ฯลฯ ในสิ่งที่อาจารย์ไม่ต้องบอก อย่าหยุดเพียงแค่เนื้อหาที่เรียนในห้องเรียนเท่านั้น (ต้องทำมาตั้งแต่ปี 1 แล้ว แต่ถ้าปีนี้ไม่ทำ เตรียมใจไว้เลย ปีหน้าคุณเหนื่อยแน่)
  • ชั้นปีที่ 4 เวลาแห่งการทดสอบตัวเองด่านสุดท้ายมาถึงแล้ว เป็นการนำเอาความรู้ที่เราศึกษามาตลอด 3 ปี มาทำ "โครงงานวิศวกรรม" (เก็บสาระไว้เขียนอีกตอนแลัวกัน)
การเตรียมตัวในเรียน
  1. เมื่อเข้าไปเรียนในคาบแรก (ครั้งแรก) ของวิชานั้นๆ อาจารย์ผู้สอน (Lecturer) จะทำการแจกประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus) ทำให้เราทราบถึงเนื้อหาที่สอนในแต่ล่ะครั้ง การเก็บคะแนน การตัดเกรด สื่อการสอน และหนังสือที่ใช้ในการเรียนหรืออ้างอิงครับ
  2. เมื่อรู้แล้วก็เตรียมตัวโดยการไปหา/ซื้อ/ยืมหนังสือที่ใช้ในการเรียนหรืออ้างอิง (หาหนังสือให้ไปที่สำนักหอสมุดฯ หากจะซื้อสมุดให้ไปซื้อที่ศูนย์หนังสือฯ และ  Sheet ให้ไปซื้อที่ศูนย์ถ่ายเอกสาร งงไม)
  3. ในแต่ละคาบเรียนมักจะมีการทดสอบ(Test/Quiz) มี 3 แบบคือ Quiz ต้นคาบเรียกว่า Pretest เพื่อทำการวัดว่าสิ่งที่จะเรียนในวันนี้เรารู้มากแค่ไหน, Quiz ท้ายคาบเรียกว่า Posttest เพื่อทำการวัดว่าสิ่งที่เรียนมาทั้งคาบรู้มากแค่ไหน รู้อะไรบ้าง ได้อะไรบ้าง และสุดท้าย Quiz แบบไม่บอกไม่ล่วงหน้า นั่งๆ เรียนอยู่เพลินๆ ก็ Quiz ซะ แล้วแต่อาจารย์จะเซอร์ไพรส์นักศึกษา (ผมชอบแบบนี้มากทีสุด มันดี ตื้นเต้น ยังจำความรู้สึกเมื่อ 6 ปีที่ผ่านมาได้เลย)
  4. ก่อนสอบกลางภาค(Midterm Exam) และปลายภาค(Final Exam) อาจารย์ผู้สอนจะบอกว่าสอบหัวข้ออะไรบ้าง และเก็บคะแนนอย่างไร หรืออาจจะไม่บอกก็ได้ (เป็นสิทธิ์ของอาจารย์ ฮ่าๆ)
  5. จากประมวลการสอนรายวิชา (Course Syllabus) เรารู้อยู่แล้วว่าในแต่ล่ะครั้งสอนอะไรบ้าง อ่านไปล่วงหน้าก็ได้ไม่มีใครห้าม และ/หรือเมื่อเรียนหมดวันแล้วค่ำๆ มืดๆ หยิบอ่านทบทวนก็ดีนะ

จบตอน !

ตอนหน้าจะเป็นการเตรียมตัวสู่การเป็นวิศวกรสารสนเทศและการสื่อสาร ตอนที่ 2 (เทคนิคการอ่านหนังสือ)

เพื่อไม่ให้สอบตก

Comments